วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Conjunction


Conjunction หรือ ตัวเชื่อ ถือเป็น Grammar ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ว่ามันทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ไวยากรณ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนได้เป็นอย่างดี





เมื่อพูดถึงตัวเชื่อมแน่นอนต้องนึกถึง 2 แบบ
1. การเชื่อมความ คือ การเชื่อม ประโยค กับ ประโยค
2. การเชื่อมคำ  คือ การเชื่อม ประโยคหรือคำ กับ คำ


การเลือกตัวเชื่อมมีหลายวิธีด้วยกัน อาจเลือกจากความหมายของประโยค เชื่อมเพื่อลำดับเวลา และ ตัวเชื่่อมประโยคที่เน้นความหมายแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น
ประโยคบอกความคล้อยตามกัน หรือ เสริมความเพิ่มเติม จะใช้
and (และ) / besides (นอกจาก) / as well as (และ , เช่นเดียวกันกับ)/furthermore (ยิ่งไปกว่านั้น)
both … and (ทั้ง และ) / not only … but also (ไม่เพียงแต่ แต่ยัง) / in addition (และ) / moreover (ยิ่งไปกว่านั้น)
ประโยคบอกความขัดแย้ง จะใช้
although / though , even though , even if (ถึงแม้ว่า) /however (อย่างไรก็ตาม) / but (แต่)
still (ยังคง) / yet (แต่กระนั้น) / nonetheless , nevertheless (แต่กระนั้นก็ตาม) / no matter what (ไม่ว่าอะไรก็ตาม)  no matter how (ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม)
ประโยคที่ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้
either…or (ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง) , neither…nor (ไม่ทั้งคู่)
ประโยคบอกเหตุ ใช้
because , as , since , for (เพราะว่า , เนื่องจาก)
ประโยคบอกผล ใช้
so , therefore , thus , hence , thereby , accordingly , consequently (ดังนั้น)
ประโยคบอกวัตถุประสงค์ ใช้
in order that  , so that (เพื่อที่ว่า)
สิ่งที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นการเชื่อมความ คือ เชื่อมประโยคกับประโยค
ที่นี้มาดูการเชื่อม ประโยค กับ คำ หรือ กลุ่มคำ บ้าง
กลุ่มคำที่แสดงความขัดแย้ง ใช้
despite , in spite of (แม้ว่า)
กลุ่มคำที่ใช้บอกเหตุ ใช้
due to , owing to , as a result of , on account of , because of , thanks to (เพราะว่า , เนื่องจาก)
กลุ่มคำที่บอกตัวอย่าง ใช้
such as (เช่น)
กลุ่มคำที่ใช้บอกวัตถุประสงค์ ใช้
in order to , so as to (เพื่อที่จะ)
**** Tip
1. ตัวเชื่อมความ คือ ตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่าง  ประโยค กับ ประโยค
นี่จึงจะถือว่าเป็น Conjunction (ตัวเชื่อม) ของแท้
S + v + Conjunction + S + V ( ประโยค + ตัวเชื่อม + ประโยค)
2. ตัวเชื่อมคำ  คือ  ตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่าง  ประโยค กับ คำ หรือ คำ กับ คำ
นี่เค้าเรียกว่า Preposition (บุพบท) นะตัว ต้องดูให้ดี
S + V + Prep. + n./obj. / pro. / V.ing (ประโยค + บุพบท + คำนาม/กรรม/คำสรรพนาม/กิริยานาม)
ตัวเชื่อมใช้เลือกใช้ตามความหมาย แบ่งเป็นกลุ่มๆ
1. ตัวเชื่อมบอกความคล้อยตาม หรือ เสริมความเพิ่มเติมข้อมูล
ม้กจะมีความหมายเหมือนคำว่า “and” แปลว่า และเวลาใช้ต้องใช้หลักการคู่ขนาน (Parallelism)ด้วยทุกครั้ง คือ ถ้าหน้า and เป็น noun หลัง and ก็ต้องเป็น noun แน่นอน หรือ หน้า and เป็น adj. หลัง and ก็ต้องเป็น adj.
ในกลุ่มนี้มี
Besides (นอกจากนี้) / Moreover (ยิ่งไปกว่านั้น) / Furthermore (ยิ่งไปกว่านั้น)
In addition  (ยิ่งไปกว่านั้น) / พวกนี้จะตามด้วยประโยค ( + S + V.) /  Not only … but also (ไม่เพียงแต่ แต่ยัง …)
Both … and … (ทั้ง และ…) / … and … ( … และ …) / … as well as …  ( … และ …)
พวกนี้ใช้หลัก Parallelism
ตัวอย่าง
I don’t want to go shopping;besides,I haven’t got any money.
ฉันไม่อยากไปช้อปเลย นอกจากนี้ฉันก็ยังไม่มีตังค์อีก
เขียนได้อีกแบบนึง
I don’t want to go shopping. Besieds,I haven’t got any money.
Not only Mr.White but also Mr.Bean takes in charge of this job.
ไม่เพียงแต่คุณไวท์เท่านั้นที่ควบคุมงานนี้แต่คุณบีนก็ด้วย
Jenny works as a translator as well as a teacher.
เจนนี่เธอเป็นทั้งนักแปลและครูด้วย
หมายเหตุ
Moreover , Furthermore , still ,yet , however และ nevertheless มีวิธีการเขียนอยู่ 2 แบบ เมื่อไปเจอการใช้ไม่เหมือนกันก็อย่าไปงงกับมัน
S + V ; ………. , S + V
S + V . ………. , S + V
2. ประโยคบอกความขัดแย้ง กลุ่มนี้มีความหมายเหมือน “but” แปลว่า แต่
While , Although , Though , Eventough , Even if , But
Still,  แต่กระนั้นก็ตาม
Yet, แต่กระนั้นก็ตาม
However, Nevertheless, Nonetheless,
No matter what ไม่ว่าอะไรก็ตาม
No matter how ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
+ S + V , S + V
ตัวเชื่อมพวกนี้สามารถวางขึ้นต้นประโยคหรือกลางประโยคก็ได้
ตัวอย่าง
Although he wore dirty clothes , he was a rich man. หรือ
He was a rich man  although  he wore dirty clothes.
ถึงแม้ว่าเขาจะสวมเสื้อผกสกปรกแต่เขาเป็นคนมีตังค์นะ
He never listens no matter what I say.
เขาไม่เคยรับฟังอะไรก็ตามที่ฉันพูดเลย
แต่ถ้าหลังตัวเชื่อมเป็นกลุ่มคำเราต้องเปลี่ยนมาใช้ preposition ในกรณีที่ต้องการความขัดแย้งค่ะ
S + V + despite / in spite of + N / V.ing
เช่น Despite having just a little money , we enjoy our life.
ถึงแม้จะมีตังค์เพียงน้อยนิด แต่พวกเราก็มีความสุขกันได้
3. ประโยคให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
Either … or   ….หรือ …. (ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง)
Neither …. nor ….   ไม่ทั้ง …. และ ….(ไม่ทั้งคู่)
ตัวอย่าง
You can ask either Nid or Nee to go with you.
คุณจะขอให้นิดหรือไม่ก็นีไปกับคุณก็ได้
Neither my mom nor I like Somtum.
ทั้งแม่และฉันต่างก็ไม่กินส้มตำ.
ปัฉฉิมลิขิต อย่าลืมหลัก Paralellism นะคะ
4. ประโยคบอกเหตุ ทั้งหมดแปลว่า เพราะ , เนื่องจาก
S + V (ผล) + because,since,for + S + V (เหตุ).
ตัวอย่าง
We have to work harder because/as/since/for we need more money.
พวกเราจำเป็นต้องทำงานหนักมากกว่าเดิมเพราะว่าอย่างได้เงินเยอะๆ
เราสามารถย้ายตัวเชื่อมได้ เพราะมันสามารถวางขึ้นต้นประโยคหรือกลางประโยคก็ได้
แต่ต้องระวังให้ดีเวลาย้ายตัวเชื่อมนะคะ ต้องให้ตัวเชื่อมอยู่หน้าประโยคบอกเหตุเสมอ
ย้ำ ตัวเชื่อมพวกนี้ต้องตามด้วยประโยคเสมอ เพราะเป็นตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่า ประโยค กับ ประโยค
มาดูตัวเชื่อมที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคกับกลุ่มคำ กับบ้าง
due to / owing to / because of / as a result of / on account of / thanks to  + V.ing / Noun (สาเหตุ)
ตัวอย่าง
Owing to the bad weather,the match was cancelled.
เนื่องจากสภาพอากาศที่แย่ การแข่งขันฟุตบอลจึงถูกยกเลิกไป
Our flight was delayed on account of bad weather.
เที่ยวบินพวกเราต้องถูกงดเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ
ตัวเชื่อมสามารถวางไว้ต้นประโยคได้ แต่ต้องมีกลุ่มคำหรือคำตามหลังเสมอ
5. ประโยคบอกผล แปลว่า ดังนั้น
So / Therefore, / Thus, / Hence, / Thereby, / Accordingly, / Consequently, + S + V. (ผล)
ตัวอย่าง
The traffic was very heavy and as a result I arrived late.
เป็นเพราะการจราจรติดขัด (เหตุ)ฉัน จึงมาสาย (ผล)
Our new home is very nice ; therefore,we are very happy.
6. ประโยคบอกวัตถุประสงค์ แปลว่า เพื่อที่ว่า
S + V + in order that / so that + S + Modal verb (can,could) + V.inf
ตัวอย่าง
We get up early in order that we could catch the bus.
พวกเราตื่นเช้าเพื่อที่ว่าพวกเราจะไ้ด้ทันรถประจำทาง
She wore glassed so that nobody could recognize her.
เธอสวมใส่แว่นเพื่อที่ว่าจะไม่มีใครจำเธอได้
หรือ อาจจะใช้เชื่อมกับกลุ่มคำ ก็ได้
S + V + in order to / so as to + V.inf
ตัวอย่าง
She travelled by train in order to / so as to avoid the traffic.
เธอเดินทางโดยรถไฟเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจร (การจราจรอาจติดขัด)
7. ประโยคบอกตัวอย่าง
S + V.  For example , S + V. (ตัวอย่าง)
ตัวอย่าง
There are many way to keep yourself fit. For example,you should exercise at least 30 minutes a day.
มีหลายวิธีที่จะทำให้คุณหุ่นดี ตัวอย่างเช่น คุณต้องออกกำลังการอย่างน้อยวันละ 30 นาที
หรืออาจจะเป็นตัวเชื่อม กับ กลุ่มคำหรือคำ
S + V + such as + noun / phrase
ตัวอย่าง
Fatty foods such as chips are bad for you.
อาหารมันๆเช่น มันฝรั่งทอดไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ
8. ประโยคที่บอกปริมาณ ในความหมายที่ว่า  …….. มาก เสียจนกระทั่ง
S + V + so  + adj/adv. + that + S + V.
S + V + such + noun + that + S + V.
Tip  วีธีการสังเกต
such เป็นคำ adj. ต้องอยู่ข้างหน้า noun เสมอ จำแค่นี้แหละ
ส่วน so ก็ใช้ตามวิธีในสูตร ก็แล้วกัน
ตัวอย่าง
The teacher speaks so cleary that we understand everything.
คุณครูพูดได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมากจนกระทั้งพวกเราเข้าใจหมดทุกอย่างเลย
He is such an annoying man that we avoid talking with him.
เขาเป็นคนน่ารำคาญมากเสียจนกระทั่งพวกเราหลีกเลี่ยงที่จะพูดกับเขา
หรืออาจใช้เป็นตัวเชื่อมคำ
S + V + too + adj/adv. + to + V.inf  แปลว่า มากเกินไป
ตัวอย่าง
He  walks too slowly to arrive on time.
เขาเดินช้ามากเกินไปเลยไปถึงไม่ตรงเวลา
*****Tip
on time หมายถึง บนจุดของเวลา เมื่อเราใช้ on time จะมีความหมายว่า ตรงเวลา
in time หมายถึง  ในช่วงของเวลา  เมื่อเราใช้  in time  จะมีความหมายเหมือน ทัีนเวลา , ภายในเวลาที่กำหนด
หรือ S + V + adj/adv. + enough to + V.inf  แปลว่า  เพียงพอที่จะ
ตัวอย่าง
This lady is rich enough to buy this castle.
ท่านผู้หญิงคนนี้รวยพอที่จะซื้อประสาทแห่งนี้
ระวัง ตกหลุม Oops! ไม่ใช่
เมื่อมีแค่ 1 ประโยค ไม่สามารถใช้ Conjunction ได้ แต่ สามารถ ใช้ Preposition ได้นะ
เมื่อมี 2 ประโยค สามารถใช้ Conjunction ได้เพียงแค่ตัวเดียวเ่ท่านั้น
เมื่อมี 3 ประโยค สามารถใช้ Conjunction ได้เพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น
เมื่อมี 4 ประโยค ………………………………….(มันไม่ถึงขนาดนั้นหรอก)
บางทีเราอาจเผลอใช้ตัวเชื่อมแบบการแปลจากภาษาไทยซึ่งมักจะใส่ตัวเชื่อมหลายตัว เช่น
เพราะเขาขาดความเชื่อมันในตัวเอง เขาจึงไม่ประสบความสำเร็จ
ถ้าถอดเป็นภาษาอังกฤษก็จะได้ว่า
Because he lacks of self-confidence , so he can’t be successful.
เขียนแบบนี้ถือว่าผิดค่ะ  ต้องเลือกเอาตัวเชื่อมตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
เช่น
Because he lacks of self-confidence , he can’t be successful. หรือ
He lacks of self-confidence so he can’t be successful.
ตัวเชื่อมทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีตัวเชื่อมอีกเยอะแยะมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง….


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น